Date: February 25, 2016
Author: Grip Thailand
วันนี้ นิตโตะซัง จะมาว่ากันต่อถึงเรื่องยางประหยัดน้ำมัน ว่ามันประหยัดได้ยังไงนะครับ
แรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานของผิวยาง
ถ้าวิ่งในเมือง ความเร็วปานกลางค่อนไปทางด้านต่ำ แรงเสียดทานกลิ้งมีสัดส่วนสูง และเมื่อเพิ่มความเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ สัดส่วนของแรงเสียดทานกลิ้งของล้อยางก็จะลดลงไป เมื่อเทียบกับแรงต้านอากาศ พูดง่ายๆ ก็คือในการใช้งานในเมือง แรงเสียดทานกลิ้งของล้อยาง มีผลค่อนข้างมากต่อความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ถ้าลดแรงนี้ลงได้ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงย่อมลดลงตามไปด้วย
สัดส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้สู้กับแรงเสียดทานกลิ้งประมาณ 5 ถึง 15 % มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ความเร็ว และสภาพการจราจรครับ ถ้าเราสามารถลดแรงเสียดทานกลิ้งได้สัก 10 % ก็จะประหยัด เชื้อเพลิง ได้ประมาณ 1.5 % โดยเฉลี่ย ถ้าใช้ตัวเลขแบบคร่าวๆ ในสภาพใช้งานทั่วไป ก็พอจะพูด ได้ว่ายางแรงเสียดทานกลิ้งต่ำ หรือยางประหยัดพลังงาน ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงได้ประมาณ 1.5 ถึง 4 % ขึ้นอยู่กับยางเอง และสภาพใช้งาน
หลักสำคัญในการลดแรงต้านการกลิ้งของยาง คือการทำให้แก้มยางงอ และยืดตัวกลับได้ง่าย ซึ่ง ก็คือทำแก้มยางให้บางลง กับการทำให้หน้ายางหรือดอกยางยุบตัวยากขึ้น เมื่อยุบน้อยก็สูญเสีย พลังงานน้อยตอนคืนตัว โรงงานยางใช้วิธีใส่เขม่าและสารอื่น (เรียกรวมกันว่า Fillers) ในสัดส่วนที่ มากกว่ายางทั่วไปครับ ช่วยได้ทั้งลดความร้อน และแรงเสียดทานการกลิ้ง
คนเข้าใจผิดกันมากว่าการที่ยางประหยัดพลังงาน สามารถช่วยให้รถไหลไปได้ไกลกว่า พอทดสอบเปรียบเทียบ หมายความว่ายางนี้จะลื่นไถลได้ง่ายกว่าเมื่อเบรคฉุกเฉิน ไม่จริงนะครับ และไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย เพราะอย่างหนึ่งเป็นการต้านการกลิ้ง ส่วนอีกอย่างเป็นเรื่องการเกาะยึดของหน้ายางกับผิวถนนเมื่อต้องรับแรงเบรค
ถ้าจะมีความเกี่ยวข้องกัน ระหว่างยางแรงเสียดทานกลิ้งต่ำหรือยางประหยัดพลังงานกับระยะ ทางเบรค ก็เป็นอดีตที่ผ่านมาหลายปีแล้ว (ประมาณ 6 ถึง 10 ปี) ในยุคนั้น ยางประหยัด พลังงาน มีหน้ายางที่แข็งกระด้างกว่ายาง “ธรรมดา” เลยลื่นไถลง่ายกว่า (และมักจะครวญคราง เอี๊ยด-อ๊าด ตอนหักเลี้ยว) แต่ยางประหยัดพลังงานรุ่นปัจจุบัน ถูกปรับปรุงส่วนผสมของหน้ายางจนแทบจะหมดจุดอ่อนนี้ไปแล้วครับ
ยังไงก็ตาม ถึงถ้าใช้ยางประหยัดน้ำมัน แล้วมัก “ตื๊บ” คันเร่งโดยไร้เหตุผลก็คงไม่ช่วยอะไรนะครับ