Date: February 25, 2016
Author: Grip Thailand
การเสียการทรงตัวในโค้งมีอยู่ 3 กรณีด้วยกันครับ คือหน้าไถล หรือ ดื้อโค้ง หรือ อันเดอร์เสตียริง กับ “ท้ายปัด” เลี้ยวเข้าในโค้งเกินกว่าที่ผู้ขับต้องการ หรือ โอเวอร์เสตียริง
ถ้าเป็นกรณีแรก ESP จะ “สั่ง” ให้เบรกของล้อหลังในโค้ง ทำงานเสริมเป็นพิเศษล้อเดียว (ถ้าผู้ขับ กำลังเบรกอยู่แล้ว ESP ก็จะเบรกล้อนี้แรงกว่าเป็นพิเศษ) ถ้าเป็นกรณีหลัง จะให้ล้อหน้านอกโค้งถูกเบรกเป็นพิเศษและขณะเบรกก็จะผ่อนคันเร่งด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม ความเร็วของรถต้องไม่เกินกว่าที่แรงเสียดทานและระบบจะรับได้นะครับ เพราะไม่ มีอะไรอยู่เหนือกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ได้ ถ้าเข้าโค้งมาเร็วเกินลิมิตไปมาก ถึง ESP จะพยายามทำงานก็หมดความหมาย เพราะรถก็จะไถลออกนอกโค้งไปทั้งคันอยู่ดี
ส่วนการเสียหลักของรถแบบที่ 3 เกิดขึ้นได้แม้รถจะมีอาการเป็นกลางครับ คือไม่ทั้งโอเวอร์ และ ไม่อันเดอร์เสตียริงแต่มันจะ แหกโค้งไปทั้งคัน ทั้งๆ ที่ตัวรถยังอยู่ในแนวเดียวกับถนน
ผมมีได้สถิติที่เชื่อถือได้ ยืนยันประโยชน์ของ ESP อย่าง ชัดเจน โดยสมาคมผู้รับประกันภัยในเยอรมนี ได้วิเคราะห์อุบัติเหตุและพบว่า 60% ของอุบัติเหตุของรถยนต์ ที่มีผู้เสียชีวิต เกิดจากการเสียการทรงตัวจนควบคุมไม่ได้ของรถ และในจำนวนนี้ 2 ใน 3 (ซึ่งก็คือ 20% ของรถที่เกิดอุบัติเหตุจากการเสียการทรงตัวและมีผู้เสียชีวิต) สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือรอดตายหากรถนั้นมี ESPอยู่
ส่วนมหาวิทยาลัยในรัฐแห่งหนึ่งที่ไอโอวา สหรัฐอเมริกา ทดสอบกับแท่นจำลองการขับควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ โดยให้อาสาสมัครแก้ไขและบังคับรถในสถานการณ์วิกฤติ เช่น หลบสิ่งกีดขวางกะทันหัน เจอโค้งแบบรัศมีเล็กลงเรื่อยๆ (แบบนี้ขับยากมากครับ มือชั้น “เซียน” หรือ ไม่ใช่เซียน แต่หลงตัวเอง เจ็บหรือตายมามากแล้ว) ปรากฏผลว่า ถ้ามี ESP จะมีผู้ขับรอดพ้นจากอุบัติเหตุ เพิ่มขึ้น 34%
กรณีแรกเป็นสถิติของจริงจากเยอรมนี ส่วนกรณีหลังเป็นการทดลองแบบจำลองสถานการณ์ แต่ก็มีความใกล้เคียงกันพอสมควรครับ
บทสรุปก็คือ ระบบนี้เหมาะที่สุดสำหรับพวกเราชาวไทย ที่ชอบรถเร็ว รถแรง ศึกษาเทคนิคการขับน้อย ประมาท หรือถนนลื่นเพราะไม่มีกฎหมายเอาผิดกับผู้รับผิดชอบ
ยังไงก็ตาม ถึงคนขับจะเก่ง รถจะมีระบบที่ดีแค่ไหน แต่ถ้ายางไม่มีประสิทธิภาพ ก็คงลำบากที่จะรอดในเหตุฉุกเฉินครับ !