About us

กริพเดียว จบเรื่องยาง เตรียมพบกับศูนย์บริการยางรถยนต์ครบวงจร ที่นี่ เร็วๆ นี้

วิธียืดอายุยางรถยนต์

ยางรถยนต์ เมื่อถูกใช้งานก็ย่อมสึกหรอไปตามระยะทางและระยะเวลาในการใช้งาน การดูแลรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะช่วยให้การใช้ยางรถยนต์เป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน           ถึงแม้ผู้ผลิตจะผลิตยางรถยนต์ออกมาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพดีเพียงใดก็ตาม หากใช้ยางรถยนต์ไม่ถูกต้อง จะทำให้ได้รับประสิทธิภาพยางรถยนต์ไม่เต็มที่และทำให้ยางรถยนต์เสียหายก่อนกำหนด ดังนั้นยางรถยนต์จะให้ประโยชน์คุ้มค่าทุกด้านอย่างเต็มที่ขึ้นอยู่กับการใช้ยางรถยนต์ที่ถูกต้อง สำหรับการใช้ยางรถยนต์ที่ถูกต้องขอแนะนำดังนี้ เติมลมยางให้อยู่ในอัตราเหมาะสม           การเติมลมยางรถยนต์ให้ได้ตามอัตราที่เขียนในคู่มือรถยนต์ได้กำหนดเป็นอัตราที่ดีที่สุด เหมาะสมสำหรับรถแต่ละชนิด แต่หากคุณไม่ได้ใช้ยางรถยนต์ขนาดเดียวกันกับยางที่ติดรถมา ควรขอคำแนะนำเกี่ยวกับอัตราสูบลมยางที่เหมาะสมจากผู้ผลิตยางหรือร้านจำหน่ายยางรถยนต์ที่ได้มาตราฐาน ในส่วนของ ยางอะไหล่ คุณควรเติมลมไว้ให้มากกว่ามาตราฐาน 3 – 4 ปอนด์ และเมื่อนำมาใช้งานก็ปล่อยให้เป็นความดันปรกติ ควรตรวจเช็คลมยางสม่ำเสมอ           คุณควรตรวจเช็คลมยางประมาณอาทิตย์ละครั้ง หรือทุกครั้งก่อนเดินทางในขณะที่ยางรถยนต์ยังเย็นอยู่ เพราะตรวจเมื่อใช้รถไปแล้วหรือตัวยางรถมีความร้อน ค่าความดันภายในยางจะสูงขึ้นและไม่ได้เป็นค่าที่ใช้วัดตามมาตราฐาน ไม่ควรใช้วิธีสังเกตด้วยตาว่า ลมยางรถยนต์อ่อนเกินไปหรือยัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยางที่คุณใช้เป็นยางเรเดียล ควรตรวจเช็คลมโดยให้เกจ์วัดลมที่ได้มาตราฐาน สลับยางรถยนต์ เพื่อให้ยางรถยนต์ทุกเส้นมีการสึกที่เท่ากัน ดังนั้นท่านควรศึกษาคู่มือการใช้รถเกี่ยวกับคำแนะนำในการสลับยางรถยนต์ ควรจะสลับยางรถยนต์ในทันทีที่คุณใช้รถครบ 10,000 กิโลเมตรแรก ข้อควรระวัง ลมยางล้อหน้าและล้อหลังต่างกัน ดังนั้นเมื่อสลับยางรถยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ต้องปรับระดับความดันลมของยางรถยนต์ล้อหน้า และล้อหลังให้ถูกต้อง ต้องมีการถ่วงล้อ หากเกิดการกระจายน้ำหนักไม่ถูกต้องของยางรถยนต์ จะก่อให้เกิดอาการสั่นสะท้านขึ้นขณะที่รถวิ่ง อันจะมีผลเสียต่ออายุการใช้งานของยางรถยนต์ ระบบช่วงล่างของรถ ตลอดจนความสะดวกสบายในการขับขี่ ปรับตั้งศูนย์ล้อ           รถที่มีปัญหาศูนย์ล้อที่ไม่ตรง เช็กง่าย […]

ยางรถของคุณวิ่งเร็วได้แค่ไหน?

เช็กได้ด้วยตัวเอง ว่ายางของเราวิ่งได้เร็วแค่ไหน ซึ่งสามารถเช็กได้จากเรทความเร็วสูงสุดที่ยางรับได้ หรือ Speed symbol นะครับ ซึ่งตัว W หมายถึงไม่เกิน 270 กม./ชม. มาเช็กกันเลย ว่ายางของคุณรับความเร็วสูงสุดได้เท่าไหร่ S = 180 T = 190 H = 210 V = 240 W = 270 Y = 300 Z = เกินกว่า 240   แม้ว่ายางของเราจะสามารถวิ่งความเร็วสูงได้ก็อย่าประมาทในการใช้รถใช้ถนนนะ

ที่จอดรถมีผลต่อการเสื่อมสภาพของยาง

หากจอดในสถานที่ที่พื้นไม่เรียบ แถวเนิน ร่องน้ำหรือลูกระนาด จะส่งผลต่อยางของคุณยิ่งถ้าลมยางอ่อน จะทำให้ยางรถยนต์เสียทรงเร็วและในบางครั้งการจอดรถบริเวณริมถนนตรอกซอกซอยแคบๆ ก็ควรระวังเศษแก้วด้วย สิ่งพวกนี้อาจจะทำให้ยางรั่วหรือแตกได้ ทางที่ดีก่อนที่จะขับรถควรเช็คยางรถยนต์ให้ดีก่อนนะครับ ส่วนจอดในสถานที่ที่มีพื้นเรียบก็อย่าพึ่งดีใจไป เพราะการจอดเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจจะทำให้ยางเสียทรงได้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากต้องจอดไว้เป็นเดือนๆ ควรมีการขยับรถบ้าง ทุกๆ 3-4 วัน เพื่อให้หน้ายางส่วนอื่นได้สัมผัสกับพื้นบ้าง ถ้าไม่ขยับก็รอวันยางเสียได้เลย

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง (3)

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง   กลโกงยางเปอร์เซ็นต์ อันตรายถึงชีวิต   ปัญหามากมายเกี่ยวกับ ยางรถยนต์มือสอง หรือยางเปอร์เซ็นต์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งบางคนก็เคยพบ หรือ บางทีก็มีเรื่องมีราวกัน ยางเปอร์เซ็นต์ หรือยางมือสอง เวลาซื้อต้องสังเกตดีๆ มันไม่เหมือนยางใหม่ ซึ่งท่านซื้อที่ไหนก็ได้เพราะ มันเหมือนกัน มีต่างกันก็แค่ราคาเท่านั้น     เราจะมาแนะนำวิธีตรวจสอบยางเปอร์เซ็นต์เบื้องต้นกันขอให้ท่านสังเกตเลขปียางบนแก้มยางของท่าน ในกรอบสี่เหลี่ยมตัวสุดท้ายท่านลองสังเกตดู ตัวเลขสุดท้ายที่ระบุปีในการผลิตยางมันแปลกจาก Frontของเลขที่ระบุสัปดาห์ในการผลิตยาง 2 ตัวข้างหน้าหรือไม่ ถ้ามีลักษณะผิดไปจากปกติ ท่านควรระวังไม่ควรซื้อยางเปอร์เซ็นต์ในลักษณะนี้โดยเด็ดขาดเพราะยางเหล่านี้อาจจะเก่าเกินไปและเสื่อมคุณภาพแล้ว เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของท่าน หากไม่อยากจะต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงกับยางเปอร์เซ็นต์ที่เราไม่รู้ที่มา และ ไม่แน่ใจในคุณภาพ เลือกซื้อยางใหม่เถอะครับ ขับขี่มั่นใจ ปลอดภัยกว่าเยอะเลยครับ เปลี่ยนยางเมื่อไร นึกถึงเรา เพราะ “กริพ” ที่เดียวจบเรื่องยาง

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง (2)

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง   เช็คดูว่าทางร้านมีสถานที่เก็บยางที่ได้มาตรฐานหรือไม่เพราะยางใหม่อาจจะไม่ใหม่อย่างที่คิด     คนจำนวนมากไม่รู้ว่ายางที่เขาได้มานั้นเป็นยางเสื่อมคุณภาพจากการจัดเก็บซึ่งถ้าร้านยางมีสถานที่เก็บยางที่ได้มาตรฐาน ก็สามารถเก็บได้นานถึง 5 ปี หลังจากการผลิต แต่สำหรับร้านยางบางแห่งที่ไม่ได้มาตรฐานในการเก็บรักษายางแล้ว สภาพยางอาจจะไม่ใหม่เหมือนที่แจ้งเอาไว้ที่แก้มยางก็เป็นได้ เจอร้านยางแบบนี้ไป ก็งานเข้าครับ ซื้อยางไปใช้งานดอกยางก็จะเสื่อมคุณภาพทำให้แข็งและไม่ยึดเกาะถนน เหมือนอย่างที่ควรจะเป็น ยังไงก็เลือกร้านยางที่ได้มาตรฐาน รู้ลึกรู้จริงเรื่องยางดีกว่านะครับ เปลี่ยนยางเมื่อไร นึกถึงเรา เพราะ “กริพ” ที่เดียวจบเรื่องยาง

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง (1)

Grip Special Content : สารพัดกลโกง ของสารพัดช่าง   กลโกงของขบวนการย้อมแมว เปลี่ยนยางเก่าให้ดูเหมือนยางใหม่   วิธีการของนักต้มตุ๋นมืออาชีพของร้านยางที่เอาเปรียบลูกค้า คือ การดึงพื้นผิวของยางส่วนนอก และกรีดผิวยางที่ไม่เรียบออก ทำให้ยางมีความเสี่ยงต่อการรั่วและระเบิดจากการเหยียบวัตถุแหลมคมได้ง่ายขึ้น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ถือเป็นเรื่องอันตรายมากๆ ในการทำเช่นนี้ เพราะจะทำให้โครงสร้างของยางผิดรูป หากลูกค้าท่านใดขาดความรู้ความเข้าในใจในเรื่องของยาง ก็อาจจะถูกต้มได้โดยง่าย ยางรถยนต์เป็นวัสดุสิ้นเปลือง ควรเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน เพราะมีผลต่อความปลอดภัยในท้องถนนโดยตรง ควรซื้อยางจากร้านตัวแทนจำหน่ายที่ไว้ใจได้เท่านั้น และอย่าซื้อยางมือสองมาใช้ หากท่านไม่มีความรู้เรื่องการตรวจสภาพยางรถยนต์ เปลี่ยนยางเมื่อไร นึกถึงเรา เพราะ “กริพ” ที่เดียวจบเรื่องยาง          

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ระวังไว้เป็นดี

หน้าฝนเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (ทางถนน) สูงกว่าปกติ เนื่องจากถนนเปียกลื่นและทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี เพื่อความปลอดภัย นิตโตะซัง เลยขอสรุปคำแนะนำวิธีป้องกันอุบัติเหตุในรูปแบบต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนบ่อยๆ ครับ 1. รถชนท้ายหรือเฉี่ยวชน เกิดจากการขับรถตามรถคันหน้ากระชั้นชิดเกินไป เมื่อถนนเปียกและรถคันหน้าเบรกกะทันหันทำให้ไม่สามารถหยุดรถทัน เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรขับรถเร็วเกินไป และไม่ขับจี้ท้ายรถคันหน้า ไม่หยุดหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถกะทันหันและต้องให้สัญญาณไฟล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนช่องทาง 2. รถหลุดโค้ง เกิดจากการใช้ความเร็วสูงขณะเข้าโค้ง ทำให้ไม่สามารถควบคุมทิศทางของรถให้อยู่ในเส้นทางได้เพื่อความปลอดภัย ควรลดความเร็วให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมรถและให้สัมพันธ์กับสภาพถนน ไม่เหยียบเบรกหรือปลดเกียร์ว่างขณะเข้าโค้ง เพราะจะเกิดแรงเหวี่ยงจนทำให้รถหลุดหรือแหกโค้ง ถ้ารถไถลออกนอกเส้นทางอย่าหักพวงมาลัยกะทันหัน ให้แตะเบรกเบาๆจับพวงมาลัยให้มั่น เพื่อประคองรถกลับเข้าช่องทางเดิม 3. รถพลิกคว่ำ เกิดจากการขับรถด้วยความเร็วสูงและเบรกกะทันหัน ยางและเบรกอาจไม่อยู่ในสภาพใช้การได้ดี ทำให้รถเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำ เราต้องตรวจสอบยางและเบรกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้อยู่เสมอ 4. รถเหินน้ำ เกิดจากขับรถผ่านบริเวณที่มีแอ่งน้ำท่วมขัง ทำให้ยางรถไม่สามารถไล่น้ำออกจากหน้าสัมผัสได้ทันที ทำให้ยางหมุนลอยอยู่บนน้ำ รถลื่นไถลไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ ป้องกันโดยเมื่อขับรถผ่านที่ที่มีน้ำขัง หากรถเสียหลักไม่ควรเบรกกะทันหันให้ลดความเร็ว และใช้เกียร์ต่ำจนกว่ารถจะทรงตัวได้ดี

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ขับหลังลื่นยังไง

อาการ โอเวอร์เสตียริง ทั่วไปมักเรียกว่า “ท้ายปัด” มักเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหลัง เมื่อขับรถเข้าโค้งอย่างเร็ว หรือเร่งในโค้ง จนเกินขีดจำกัดของแรงเสียดทานจากยางที่จะยึดเกาะถนนได้ หากมีอาการมากเกินไปจะเกิดอาการ “รถหมุน” ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในรถ และรอบข้างนอกด้วย เพราะผู้ขับขี่ทั่วไปจะไม่สามารถควบคุมรถได้เลยจนกว่ารถจะหยุดหมุนเอง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหลังเป็นส่วนใหญ่ครับ อาการนี้เกิดขึ้นเพราะ มุมลื่นไถล (Slip Angle) ของล้อหลังมีมากกว่ามุมลื่นไถลของล้อหน้า สมมติว่ารถเข้าโค้งซ้าย ล้อข้างซ้าย จะต้องหมุนช้า และน้อยรอบกว่าล้อข้างขวา แต่ถ้าเกิดกรณีล้อหลังเริ่มหมุนเร็วกว่าล้อหน้า ไม่ว่าจะจากสาเหตุไหน แสดงว่าท้ายรถเริ่มกวาดออกนอกโค้ง หมายถึง เกิดอาการท้ายปัดเข้าแล้ว หากเกิดอาการไม่มาก ให้ถอนคันเร่งพร้อมๆ กับ  “สวน” พวงมาลัยจากทิศทางเดิม ที่เราต้องการจะเลี้ยว ก็จะสามารถดึงรถให้กลับมาในทิศทางปกติได้ แต่ถ้าท้ายเริ่มบานออกมากแล้ว สามารถแตะเบรกช่วยเบาๆ ได้ ในชีวิตประจำวันเราสามารถหลีกเลี่ยง การ อันเดอร์เสตียริง และ โอเวอร์เสตียริง ได้ด้วยการฝึกสังเกตโค้งข้างหน้า และสภาพทางให้ดี เมื่อเห็นโค้ง ให้ประเมินความเร็วของรถ จากนั้นให้ใช้ความเร็วให้ต่ำกว่าที่เราเข้าโค้งได้ตามปกติ โดยเฉพาะเมื่อฝนตกและถนนเจิ่งนองไปด้วยน้ำ ก็จะสามารถเข้าโค้งได้อย่างปลอดภัยครับ

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ขับหน้าลื่นแบบไหน

อาการที่เกิดขึ้นกับรถ เมื่อรถเสียการทรงตัว มี 2 อาการหลักๆ ครับ ได้แก่อาการ อันเดอร์เสตียริง (Under steering) ที่มักจะเกิดกับรถขับเคลื่อนล้อหน้า และ โอเวอร์เสตียริง (Over steering) ที่มักจะเกิดกับรถขับเคลื่อนล้อหลัง นิตโตะซั งชวนมาทำความเข้าใจในแต่ละอาการ พร้อมวิธีแก้ไขเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นครับ อันเดอร์เสตียริง (Under steering) ภาษาปากเรียกกันว่า “หน้าแถ” หรือ “หน้าดื้อโค้ง” อาการ คือ เลี้ยวโค้งได้น้อยกว่าที่หักพวงมาลัย เกิดขึ้นเมื่อขับรถเข้าโค้งอย่างเร็ว หักพวงมาลัยอย่างเร็ว หรือเร่งในโค้ง จนเกินขีดจำกัดของแรงเสียดทานจากยางที่จะยึดเกาะถนนได้ ซึ่งเกิดขึ้นกับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเป็นส่วนใหญ่ครับ ถ้าเราขับตรงๆ จะมีแรงกระทำไปด้านหน้า แต่เมื่อเราหักเลี้ยวพวงมาลัยแล้ว หากล้อหน้าเกิดอาการลื่นไถล ทิศทางของแรงก็ยังพยายามดันให้รถตรงไปด้านหน้าอยู่ดี เมื่อเกิดอาการแบบนี้ เราจะรู้สึกว่า โค้งนอกจะเข้ามาใกล้เรื่อยๆ ถ้าไม่แก้ไขอาการก็จะขับตกถนน ที่เรียกกันว่า “แหกโค้ง” การแก้ไข หากมีอาการไม่มาก สามารถทำได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักให้กดลงไปล้อหน้าที่ลื่นมากขึ้น โดยให้ยกเท้าออกจากคันเร่ง ซึ่งเมื่อยกเท้าออกน้ำหนักจะกดไปที่ล้อหน้า ทำให้ล้อจับถนนได้ดีขึ้น และ หากมีอาการดื้อมากๆ สามารถแตะเบรกช่วยได้เบาๆ ทั้งสองวิธีนี้ […]

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? อย่าวางใจสภาพถนน

เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มีฝน มีน้ำขังควรลดความเร็วลงจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ตำแหน่งที่ดีที่สุดของการจับมือซ้ายอยู่ที่ 9 นาฬิกา และมือขวา 3 นาฬิกา ครับ ถนนเมืองไทยมีทั้งแอ่งน้ำและการระบายน้ำที่ไม่ดีคละกันอยู่บ่อยๆ นอกจากอาการเหินน้ำแล้วก็ต้องทราบไว้ว่าช่วงที่ฝนเริ่มตกใหม่ๆ จะลื่นที่สุด ฉะนั้นเมื่อตัดสินใจลุยฝ่าในแอ่งน้ำ ควรชะลอความเร็วลงและใช้เกียร์ต่ำ วิ่งด้วยความเร็วสม่ำเสมอจนกว่าจะพ้นน้ำ ไม่ควรเบรกตอนที่รถอยู่ในน้ำ เพราะอาจทำให้รถปัดได้ ส่วนการขับรถบนถนนลื่น อย่าเหยียบเบรกแรงครั้งเดียว เพราะจะทำให้รถเสียหลัก แม้รุจะมี เอบีเอส ควรค่อยๆ เบรกอย่างนิ่มนวล เพราะถึงเอบีเอสจะป้องกันล้อล็อก แต่นั่นก็แสดงว่าเป็นการเบรกที่รุนแรงเกินไปนั่นเองครับ ส่วนรถที่ไม่มีระบบเบรก เอบีเอส การเบรกแรงๆ บนถนนลื่น ล้อมีโอกาสล็อกได้ง่ายมาก ล้อที่ล็อกจะขาดการบังคับควบคุมทิศทางจากพวงมาลัยหรือทำให้รถปัดเป๋จนถึงขั้นหมุนคว้างได้ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากระแทกแป้นเบรกแรงๆ หากจำเป็นและรู้สึกว่าล้อล็อกแล้ว ควรละเบรกเล็กน้อยเพื่อให้ล้อคลายการล็อก

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ทำอย่างไรไม่ให้ลื่น

คนใช้รถอย่างเราๆ จำเป็นต้องขับรถลุยน้ำ เพื่อไปให้ถึงที่หมายเพื่อลดปัญหาการลื่นไถล  นิตโตะซัง แนะนำว่า นอกจากพิจารณาความลึกของร่องยางหรือความสูงของดอกยาง ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการรีดน้ำของยาง ยางที่ยังถูกรีดขึ้นมาจาหน้ายางแทรกตัวอยู่ หรือสะบัดออกด้านข้างทั้งสองของแก้มยาง โดยร่องยางหรือดอกยาง ควรเหลือไม่ต่ำกว่า 1.5-2 มิลลิเมตร ยังควรเติมลมยางให้สูงกว่าปกติ 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อทำให้หน้ายางแข็ง และมีกำลังในการวิ่งตัดน้ำครับ การขับรถในช่วงหน้าฝนควรเพิ่มแรงดันลมยางให้มากกว่าปกติ 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ง่ายๆ ครับปกติเติมอยู่ 30 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ก็มาเติมเพิ่มเป็น 32 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หลายคนคง สงสัยว่า อ้าว ? ฝนตกแรงเสียดทานระหว่างยางกับถนนลดน้อยลงอยู่แล้ว ทำไมไม่เอาลมออก เพื่อเพิ่มแรงเสียดทานให้ยางเกาะกับถนนมากขึ้นล่ะ ในพื้นถนนที่แห้งน่ะใช่ เพราะเป็นการเพิ่มพื้นที่สัมผัสของหน้ายาง แต่เมื่อฝนตก การที่เราเติมลมยางเพิ่มไป เป็นการไปเบ่งยางในมีแรงดันต่อสู้กับน้ำที่เจิ่งนองบนผิวถนนได้ดีกว่าครับ

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ทำไมถึงลื่น

นิตโตะซัง ย้ำซ้ำๆ เลยครับว่า ช่วงที่ฝนตกไม่ควรใช้ความเร็วสูง ให้พิจารณาลดความเร็วตามสภาพผิวถนน สภาพการจราจร และสภาพรถของคุณเอง รถบางคันจากที่เคยเกาะถนนดีอาจเปลี่ยนเป็นคนละคันเลยเมื่อขับตอนฝนตก (โดยเฉพาะรถเล็กที่มีน้ำหนักเบา หรือร่องยางตื้นเกินไป) ถ้าใช้ความเร็วสูง และผิวถนนมีน้ำท่วมขัง อาจเจอปัญหาลื่นไถลเมื่อเบรกรุนแรง ถึงแม้จะมีระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) ก็ตาม เพราะยางไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางที่สัมผัสกับผิวถนนได้อย่างเต็มที่ ทำให้รถยนต์ที่ใช้ความเร็วสูงในระหว่างฝนตกเกิดอาการเหินน้ำ โดยปกติแล้วน้ำที่ท่วมขังผิวการจราจร เมื่อยางรถยนต์แล่นไปบนน้ำ ยางต้องใช้น้ำหนักและดอกยาง กดไล่นำให้ไปที่ร่องยาง และสลัดน้ำออกไปด้านข้างทั้งสองเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนได้อย่างเต็มที่ ถ้ายางหมุนเร็วจนเกินไปเพระผู้ขับใช้ความเร็วสูงมาก ดอกยางก็ไม่สามารถกดไล่น้ำให้เข้าไปที่ร่องยางได้ทัน รถยนต์อาจเกิดการลื่นไถลได้ เพราะฉะนั้นยางที่ร่องตื้นหรือยางหัวโล้น ควรรีบเปลี่ยนทันทีที่หน้าฝนมาถึง เพระดอกยางและร่องยาง มีไว้ให้น้ำแทรกตัวและสะบัดออกครับ

ฝนมาแล้ว… (ไง) ? ยางทำไมต้องมีดอก

หลายคนเข้าใจว่าร่องของดอกยางมีไว้กันลื่น แต่ไม่ใช่ เพราะจริงๆ มันมีหน้าที่เดียว คือ ช่วย “รีดน้ำ” ให้ออกไปจากหน้ายาง การที่ล้อของรถเราสามารถส่งแรงขับเคลื่อน และแรงเบรกลงสู่ผิวถนนได้ ต้องอาศัยแรงเสียดทานจากการกดสัมผัสกันระหว่าง 2 ตัวแปรนี้ ฉะนั้นเมื่อไหร่ที่มีน้ำมาคั่นกลาง ระหว่างพื้นผิวทั้ง 2 รถของเราก็จะไถลไปบนผิวน้ำ เรียกว่า การ “เหินน้ำ” หรือ ไฮดรอแพลนนิง (HYDROPLANING) ซึ่งจะลงเอยด้วยการ “แฉลบ” ครับ ขับรถบนพื้นผิวเปียกน้ำที่ไหนๆ ก็ลื่นหมด แต่ช่วงเวลาที่ลื่นที่สุด มักจะเป็นช่วง 10-15 นาทีแรกหลังฝนตก เพราะฝุ่นที่ติดอยู่บนพื้นถนนจะกลายสภาพเป็นโคลนบางๆ เคลือบผิวถนน จนกว่าฝนจะตกหนักยิ่งขึ้น และชะล้างออกจนหมดนั่นแหละ ความลื่นถึงจะลดลง อีกช่วงเวลาหนึ่งก็คือตอนที่ฝนตกเป็นระยะเวลานานแล้วจนถนนเจิ่งนองไปด้วยน้ำ มีความเสี่ยงต่อการเหินน้ำ ฉะนั้นจึงควรลดความเร็วลง ระมัดระวัง และตั้งใจขับกันนะครับ

อย่าลืม ยางอะไหล่

นิตโตะซัง เชื่อว่าทุกๆ ท่านที่ขับรถคงทราบถึงประโยชน์ของยางอะไหล่อยู่แล้วว่าใช้สำหรับเปลี่ยนกับยางรถยนต์ที่เกิดปัญหา ไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ แต่ผู้ขับรถยนต์ส่วนมาก มักจะมองข้ามความสำคัญของยางอะไหล่ไปอาจจะด้วยสาเหตุที่ยางอะไหล่ถูกจัดเก็บไว้อย่างมิดชิด ในกระโปรงท้ายรถ หรือใต้ท้องรถ ยางอะไหล่เลยมักถูกลืมไม่ได้รับการดูแล ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยางอะไหล่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และจะต้องมีความพร้อมที่จะนำมาใช้งานได้ตลอดเวลา ในขณะที่รถวิ่งไปนั้น ยางรถยนต์ต้องสัมผัสกับผวถนนอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นโอกาสที่ยางรถยนต์จะวิ่งไปทับกับเศษวัสดุที่แหลมคม บาดหรือตำทะลุก็ย่อมเป็นไปได้ หากเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นระหว่างทางที่ห้างไกลจากชุมแล้วคุณจะทำอย่างไร ก็ต้องพึ่งย่างอะไหล่แน่ๆ แต่ด้วยความที่ไม่เคยตรวจเช็คลมและสภาพของยางอะไหล่เป็นเวลานาน เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่ต้องนำออกมาใช้ มักปรากฏว่า ลมในยางอะไหล่มีไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้งานได้ กลายเป็นยางแบนอีกเส้นนึง ดังนั้นผู้ใช้รถทุกท่านจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจเช็คลมและสภาพของยางรถยนต์ทั้ง 4 เส้น และยางอะไหล่เป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางอะไหล่ควรเติมลมยางให้มากกว่าปกติประมาณ 5-10 ปอนด์ เผื่อไว้สำหรับการรั่วซึมเมื่อยังไม่นำมาใช้งาน จะได้ไม่ต้องถอดออกมาเติมบ่อยๆ ไงครับ

ทำยางถึงหมดสภาพ ทั้งๆ ที่ดอกยังลึกอยู่

การเสื่อมสภาพของยางเร็วกว่าปกติโดยที่ดอกยางยังมีอยู่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานที่ไม่ถูกต้องซึ่งหลักๆ แล้วมักเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. ความร้อนและแสงแดด การจอดรถยนต์ในลานโล่งที่มีแสงแดดส่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่บริเวณแก้มยางและหน้ายางมากกว่าปกติ โดยเฉพาะการจอดบนพื้นคอนกรีตและปูนทำให้เนื้อยางแข็งกระด้างหรือแตกลายงาได้ 2. การดูแลรักษายางที่ไม่ถูกต้อง เช่นการปล่อยให้ยางโดยน้ำมัน หรือสารเคมีที่อาจทำปฏิกิริยากับเนื้อยาง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ เปื่อยยุ่ย และบวมได้ รวมถึงการใช้น้ำยาทำความสะอาดและเคลือบยางบางประเภท 3. การจอดรถอยู่กับที่เป็นระยะเวลานานๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการไม่คืนตัวของการยุบตัวของโครงยางส่วนหน้า ที่สัมผัสกับพื้นได้ทำให้โครงยางเสียรูป ไม่กลมอย่างที่เคยบอกไปแล้วครับ

จอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน ทำให้ยางหมดสภาพได้จริงหรือ

สำหรับผู้ทีเพิ่งเปลี่ยนยางใหม่ ผู้ที่ใช้รถน้อย หรือมีความจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ควรที่จะนำรถไปขับขี่หรือเคลื่อนที่เพื่อให้ยางได้หมุนบ้าง เพราะการจอดรถอยู่กับที่เป็น FLAT SPOT ที่หน้ายาง หรืออาการไม่คืนตัวของการยุบตัวของรถยนต์ทั้งหมด จะตกสู่ยางแต่ละเส้นในจุดเดียว ถ้าจำเป็นจริงๆ ต้องจอดรถไว้เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ใช้งาน ก็ควรจะเพิ่มความดันลมยางให้มากกว่าปกติประมาณ 10 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว หรือหากเป็นได้ได้ วิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่ต้องจอดรถทิ้งไว้นานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไปนั้น ขอแนะนำให้ยกรถตั้งบนแท่นวางทั้ง 4 ล้อ ซึ่งทำให้น้ำหนักรถไม่กดทับลงบนยาง จะเป็นการรักษารูปร่างของยางได้ดีที่สุด

ตรวจเช็คความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง อ่อนหรือแข็งไปก็ไม่ดี

แน่นอนว่าเราควรตรวจเช็คความดันลมยางของรถ  ให้อยู่ระดับที่ผู้ผลิตกำหนดเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปกติโรงงานประกอบรถยนต์จะระบุระดับความดันลมยางที่เหมาะสม ไว้บริเวณขอบประตู หรือกำหนดในคู่มือประจำรถ  การเติมลมยางที่ถูกต้องนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว  ยังช่วยยืดอายุการใช้งานได้แก่รถด้วย   นอกจากนี้การเติมรถยางที่ไม่เท่ากัน  จะส่งผลให้รถยนต์เสียการทรงตัวเมื่อเบรกหยุดหรือเร่งความเร็ว  หรือรถถูกดึงไปด้านใดด้านหนึ่งขณะขับและทำให้ยางสึกไม่เท่ากันด้วยครับ การเติมลมยางมากเกินไป –  อายุยางลดลง –  บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ –  เกิดความร้อนสูงที่บริเวณไหล่ยาง  ทำให้ผ้าใบหรือเนื้อยางไหม้แยกออกจากัน –  โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาด  หรือหักได้ –  สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง –  เนื้อยางบริเวณหน้ายางจะฉีกขาดได้ง่าย  ถ้าวิ่งด้วยความเร็วสูง การเติมลมยางน้อยไป – เกิดการลื่นไถลได้ง่าย  เนื่องจากพื้นที่การยึดเกาะถนนลดลง – โครงยางระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก  หรือถูกของมีคมตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อยดอกยางจึงสึก บริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น ๆ –  อายุยางลดลง –  ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง

การเติมลมยางที่ถูกต้องจริงๆ

นิตโตะซัง เคยบอกไปแล้วว่า ควรตรวจเช็คลมยางขณะที่ยางยังเย็นอยู่ หรือในช่วงเวลาก่อนออกเดินทาง และปรับแต่งให้ถูกต้องตามอัตราที่โรงงานผู้ผลิตรถยนต์กำหนดเป็นประจำ ในกรณียางใหม่  แนะนำว่าให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยางให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก)  เนื่องจากโครงยางในช่วงนี้จะมีการขยายตัวทำให้ความดันลมยางลดลงครับ ที่สำคัญห้ามปล่อยลมยางออก  เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นในขณะกำลังใช้งานตามความเชื่อเดิมๆ เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ใช้งานเป็นตัวทำให้ความดันลมภายในยางสูงขึ้นไม่ใช่ปริมาณลมที่ทำให้เกิดแรงดัน นอกจากนี้เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว (จุ๊บ) ควรเปลี่ยนวาล์ว และแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา เพื่อป้องกันเศษผง  ฝุ่น  หรือความชื้นซึมผ่านเข้าภายในยาง  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อยางรถยนต์ได้ สำหรับยางอะไหล่ ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกครั้งอยู่เสมอ ในกรณีรถเก๋งที่ขับด้วยความเร็วสูง  ให้เติมลมยางให้มากกว่าปกติ  3-5  ปอนด์ต่อตารางนิ้วจะสามารถช่วยลดความร้อนของยางได้เป็นอย่างดีครับ

ทำไมควรตรวจเช็คลมเมื่อยางเย็น

นิตโตะซังขอบอกว่า ยางรถยนต์เหมือนเกราะกันกระแทกระหว่างระยนต์และพื้นถนน  เพื่อให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้  ยางทุกเส้นเลยต้องได้รับการเติมลมก่อนใช้งาน และต้องรักษาระดับความดันลมยางให้ใกล้เคียงกับที่โรงงานผู้ผลิตกำหนดอยู่เสมอครับ   ยังไงก็ตามความดันลมยางจะลดลงหลังจากการใช้งานเป็นปกติอยู่แล้ว  ดังนั้นจึงควรเช็คระดับความดันลมยางอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถคุณ ระยะนี้ นิตโตะซัง จะเข้ามาแนะนำเกี่ยวกับเรื่องลมยางล้วนๆ ครับ ควรเช็คลมยางในขณะที่ยางเย็น  หรือก่อนการใช้งาน  เพราะทันทีที่เมื่อล้อเริ่มหมุน ยางจะเกิดการเปลี่ยนรูป  ทำให้อากาศภายในเกิดการเคลื่อนไหวเสียดสีกันจนทำให้เกิดความร้อนขึ้น อากาศภายในยางขยายตัวความดันลมเลยเพิ่มสูงขึ้น ถ้าจำเป็นต้องเติมลมหลังใช้งานแล้ว ควรเติมลมเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อชดเชยความดันอากาศที่ขยายตัว หลังจากจอดทิ้งไว้จนยางเย็นค่อยมาเช็คลมยางอีกครั้งครับ

ยางดึง…ดึงยาง รักจะทำก็ต้องทน ตอนที่ 2

เนื่องจากการดึงยาง ไม่ใช่การสวมใส่ยางเข้ากับล้อที่เป็นมาตรฐาน ฉะนั้น ถ้าคิดว่าสวยและอยากจะใส่จริงๆ เราก็มีข้อควรระวังตามนี้ครับ 1. การเติมลมควรเติมให้มีแรงดันมากกว่าปกติ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ล้อโดนกระแทกจนดุ้งได้ง่ายๆ ซึ่งรถจะกระด้างมาก ฉะนั้นทีนี้ภาระการรับแรงกระแทกจะไปยังช่วงล่างเต็มๆ 2.  ไม่ควรเข้าโค้งแคบ ด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้ยางบิดตัว ปลิ้นหลุดออกมา 3. ถ้าไม่ขยันเช็คลมยาง แล้วลมยางอ่อน เมื่อล้อตกหลุม หรือแก้มยางยุบตัว จะมีโอกาสทำให้เกิดช่องว่างระหว่างยางกับล้อได้ง่ายมากๆ ลมยางจะรั่วออกทันที ยางจะแบน หรือหากกระแทกแรงอาจถึงขั้นระเบิดจนรถเสียการทรงตัว 4. ขอบล้อแม๊กซ์จะไม่ได้รับการปกป้องจากแก้มยาง โอกาสที่ล้อจะไปขูดกับขอบฟุตบาทมีสูงมากๆ สรุปง่ายๆ ว่าการใส่ยางดึง ถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายในทันที แต่ก็ขับลำบาก ต้องระมัดระวังในหลายด้าน ช่วงล่าง และยางจะพังเร็วขึ้นครับ